เผยแพร่แล้ว: มิ.ย. 21, 2024
 
    คำสำคัญ:
  ความเครียด ผู้ปฏิบัติงาน
  ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ

 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

  ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ
  ของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร

 
     
     
 
ยุทธนา เศรษฐนันท์
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
ทะเนตร์ สายมัน
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
ทัศไนย ลิ้มเจียมรังษี
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
ฟ้าสว่าง ฟองจำ
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
นันทนา เมษประสาท
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
สิรินทรา ราษฎร์มณี
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
นัตติยา พรมมินทร์
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงาน ในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร จำนวน 116 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม (questionnaire) และแบบวัดระดับความเครียดสวนปรุง กรมสุขภาพจิต ซึ่งระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าส่วนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและแบบบางส่วน ค่าการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.17, SD=0.560) และปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (r=-0.197, p=0.039) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (r=-0.222, p=0.049)  และปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (r=0.309, p=0.001) มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 โดยปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (β=-0.279, p=0.039)  ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (β=-0.310, p=0.019) และปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (β=0.399, p=0.001) มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01


สรุป: ปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร เกิดความเครียดในการปฏิบัติงาน มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านบทบาทในองค์กร (การมอบหมายงานที่ชัดเจนและมีทีมงานคอยให้คำแนะนำ) 2) ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน (การทำงานเป็นทีมและมีช่องทางช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน) และ 3) ปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว (มีบุคคลที่สามารถปรึกษาได้และมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ)

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (2567): มกราคม - มิถุนายน 2567

 
 
     
     
     
 
   บทความ  
    บทความวิจัย  
 
     
     
     
 

References

องค์การ เรืองรัตนอัมพร. สาเหตุของความเครียดจากการทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 5 มิ.ย. 2566].
เข้าถึงได้จาก http://cmruir.cmru.ac.th/bitstream/123456789/1390/5/Chapter%202.pdf

กลุ่มงานมาตรฐานและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. รายงานประจำปี 2565.ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) รายงานประจำปี; 2565.

ภาพรรณ พุทธิยาวัฒน์. ความเครียดของเจ้าหน้าที่รับเรื่องทางโทรศัพท์ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300) [วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต].
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.ข้อมูลประเมินสุขภาพจิตคนไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิ.ย. 2566].
เข้าถึงได้จาก:https://checkin.dmh.go.th/dashboards

Cartwright S, Cooper CL. Managing workplace stress Vol.1. [Internet].1997 [cited 2023 Jun 5].
Available from:https://books.google.co.th/booksid=RQ85DQAAQBAJ&lpg=PP1&ots=c5Z4a3hG_B&dq=
Cartwright%20S%2C%20Cooper%20CL.%20(1997).%20Managing%20workplace%20stress%20Vol.
%201.%20Sage.&lr&hl=th&pg=PP1#v=onepage&q&f=false

จินดารัตน์ บุตรจินดา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของบุคลากร: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2561;10(1):289-94.

วิภัสสร มากนคร, วัฒน์ บุญกอบ, จันทร์จารี เกตุมาโร, เกษม ชูรัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนโรงพยาบาลศิริราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2563; 12(2):249-57.

กชพรรณ ลัภโนปกรณ์, ประสพชัย พสุนนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
วารสารจันทรเกษมสาร 2557;20(38):133-42.

นวนันท์ คำมา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในเขตกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. 2561
[เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566].
เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/ MMM/IS/mlw12/6114961006.pdf

นิรชา สายสังข์ . ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กร [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566].
เข้าถึงได้จาก: http://www.me-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-6-1_1594615938.pdf

นวพร ชิณวงศ์. ความขัดแย้งในองค์กรด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความเครียดในที่ทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเปรียบเทียบระหว่าง
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ค. 2566].
เข้าถึงได้จาก: http://www.repository.rmutt. ac.th/xmlui/handle/123456789/2853

นฤมล เมียนเกิด. ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัว และการทํางานของพนักงานออฟฟิศในเขตกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบกับพนักงาน
บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จํากัด [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

สราวลี แซงแสวง. คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น Xและเจนเนอเรชั่น Y
[สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

วริศรา กลมทุกสิ่ง, วิลาวัณย์ พึ่งตัว, พรพจน์ วิรุฬห์ธนวงศ์. ประโยชน์ของการปรับสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว.
Journal of Roi Kaensarn Academi 2566;8(4):587-95.